Welcome To My Blog

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

☞ คำอุทาน

๗.  คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อเเสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้พูด ส่วนมากจะไม่มีความหมายตรงตามถ้อยคำ แต่จะมีความหมายทางการเน้นความรู้สึกและอารมณ์ของผู้พูดเป็นสำคัญ
คำอุทาน แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
          ๗.๑  คำอุทานบอกอาการ ใช้บอกอาการในการพูดจากัน เช่น
                         โธ่! ไม่น่าเลย                                     โอ๊ย! น่ากลัวจริง
                         เอ๊ะ! ทำอย่างนี้ได้อย่างไร                 ตายแล้ว! ทำไมเป็นอย่างนี้
คำอุทานบอกอาการจะมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) กำกับอยู่ คำอุทานบอกอาการนี้ จะพูดออกมาเพื่อเเสดงอารมณ์ของผู้พูด เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ แปลกใจ ฯลฯ
          ๗.๒  คำอุทานในบทร้อยกรอง คำอุทานเหล่านี้จะปรากฎอยู่ในบทร้อยกรอง เช่น อ้า โอ้ เอย เอ๋ย เฮย แล แฮ นา นอ ฯลฯ  ใช้เเทรกลงในถ้อยคำเพื่อความสละสลวย เช่น
                            โอ้ดวงเดือนก่ำฟ้า                     ชวนฝัน ยิ่งเอย
                   ในพฤกษ์จับเเสงจันทร์                      ป่ากว้าง
                   หมู่เเมลงเพรียกหากัน                        ดุจเพื่อน รักนา
                   ป่าปลอบผู้อ้างว้าง                            ปลดเศร้าอุราหมอง
                                                                               จตุภูมิ วงษ์แก้ว
           ๗.๓ อุทานเสริมบท ใช้กล่าวเป็นการเสริมคำในการพูดเพื่อเน้นความหมายให้ชัดเจนขึ้น ทำให้สนุกในการออกเสียงให้น่าฟังขึ้น เช่น
                เธอไม่สบายต้องกินหยูกกินยานะ
               ช่วยหยิบถ้วยโถโอชามให้ด้วย
               เข้ามาดื่มน้ำดื่มท่าเสียก่อน
              ทำไมบ้านช่องถึงสกปรกอย่างนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น