Welcome To My Blog

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

☞ คำสรรพนาม

๒.  คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้เเทนคำนาม เพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำๆ
คำสรรพนาม แบ่งออกเป็น ๗ ชนิด ดังนี้
๒.๑  บุรุษสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้เเทนนาม มี ๓ ชนิด ดังนี้
        สรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้เรียกแทนผู้พูด เช่น ข้าพเจ้า ฉัน ดิฉัน ผม
        สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้เรียกแทนผู้ฟัง เช่น เธอ ท่าน คุณ
        สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้เรียกเเทนผู้ถูกกล่าวถึง เช่น มัน เขา ท่าน
๒.๒ สรรพนามชี้ระยะ เป็ฯสรรพนามที่กำหนดให้เรารู้ว่า คน สัตว์ สิ่งของ หรือ สถานที่ที่กล่าวถึงนั้นอยู่ในระยะใกล้ไกลเพียงใด เช่น
        นี่ ใช้กับ สิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุด
        นั่น ใช้กับ สิ่งที่อยู่ไกลหรือห่าวออกไป
๒.๓  สรรพนามใช้ถาม ใช้เเทนคำนามที่ผู้ถามต้งอการคำตอบ ได้แก่ อันไหน สิ่งใด ใคร อะไร เช่น
        เธอชอบ
อันไหน
        คุณเลือกสิ่งใดในตู้นี้
๒.๔  สรรพนามบอกความไม่เจาะจง ใช้เเทนคำนามที่กล่าวถึง โดยไม่ต้องการคำตอบ ได้แก่ ใคร อะไร สิ่งใด หรืออาจจะใช้คำซ้ำ เช่น
        ฉันไม่เห็นใครขยันอย่างเขา
        รู้สิ่งใดหรือจะสู้รู้วิชา
๒.๕  สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ ใช้เเทนคำนามที่กล่าวมาก่อนเเล้ว และต้องการกล่าวซ้ำอีกโดยไม่ต้องเอ่ยคำนามนั้นอีกครั้ง ได้แก่ บ้าง ต่าง กัน เช่น
        ประชาชนต่างไปลงคะเเนนเสียงเลือกผู้เเทนราษฎร (ความหมายแยกแต่ทำในสิ่งเดียวกัน)
๒.๖  สรรพนามเชื่อมประโยค ใช้เเทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า และเมื่อต้องการกล่าวซ้ำ ทำหน้าที่เชื่อประโยค ๒ ประโยค เข้าด้วยกัน ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน ผู้ เช่น
        คนที่เดินมาเป็นน้องชั้น
        เมื่อเเยกประโยคจะได้ ดังนี้ คนเดินมา และ น้องฉัน ส่วนคำว่า ที่ เเทนคำว่า คน
๒.๗  สรรพนามใช้เน้นนามตามความรู้สึกของผู้พูด ใช้หลังคำนามเพื่อบอกความรู้สึกที่มีต่อบุคคลที่กล่าวถึง เช่น
        เด็กๆ แกหัวเราะเสียงดัง (บอกความรู้สึกเอ็นดู)
        คุณแอมเธอดีกับทุกคน (บอกความรู้สึกยกย่อง)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น